เส้นประสาทบาดเจ็บ เส้นประสาทตึงตัว มาบริหารเส้นประสาทแขน รำไทย

 

ที่มา: นิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับที่ 364 เดือนสิงหาคม 2552
ที่มา: นิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับที่ 364 เดือนสิงหาคม 2552

มาบริหารเส้นประสาทแขนด้วยการรำไทยกันเถอะ…….โดย อ.ดร.คีรินท์ เมฆโหรา

มีเรื่องราวที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งที่จะนำมาแบ่งปันให้กับทุกท่านคะ ท่านเคยทราบไหมคะว่าการรำของไทยมีประโยชน์ ไม่น้อยเลย

เชื่อไหมคะว่า สามารถใช้ในการบริหารเส้นประสาทของเราได้ดีมากเลยคะ…………อยากทราบแล้วใช่ไหมคะว่า ทำอย่างไร เอ้า! เตรียมตัวหรือยังคะ

อ.ดร.คีรินท์  เมฆโหรา อาจารย์นักกายภาพบำบัด พีเคของเราได้เขียนคอลัมน์สุขภาพดีๆของนิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับที่ 364 เดือนสิงหาคม 2552

ว่าด้วยเรื่อง รำไทยพิชิตปวด นั้น ได้อธิบายไว้ว่า

เส้นประสาทเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกายทำหน้าที่ส่งกระแสกระสาทจากตัวรับความรู้สึกที่บริเวณผิวหนัง(receptor)

ข้อต่อ(joint) และอวัยวะต่างๆ ไปยังสมอง (brain) เพื่อให้เรารับรู้ถึงความเจ็บ ความร้อน-ความเย็น การสัมผัส รับรู้ว่าเรายืนอยู่หรือนั่งอยู่

ขณะเดียวกันก็ยังส่งกระแสประสาทสั่งการจากสมองหรือไขสันหลัง ลงมายังกล้ามเนื้อทำงานให้ขยับเขยื้อนร่างกายและแขนขา

 

หากเส้นประสาทมีปัญหา ได้รับบาดเจ็บหรือทำงานบกพร่องไป จากการฉีกขาดหรือถูกกดทับ หรือมีการอักเสบติดเชื้อ

ย่อมส่งผลต่อการทำงานของเส้นประสาทเส้นนั้นๆ อย่างหนักที่สุดคือ การรับความร็สึกไม่ได้ หรือกล้ามเนื้อไม่ทำงาน

อาการเบาหน่อยคือ การรับความรู้สึกลดน้อยถอยลงและกล้ามเนื้ออ่อนแรง

 

ภาพที่2 แสดงเส้นประสาท median  ที่มา: Netter’s Clinical Anatomy
ภาพที่2 แสดงเส้นประสาท median
ที่มา: Netter’s Clinical Anatomy

เมื่อเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ เส้นประสาทก็จะเริ่มมีความตึงรั้ง ส่งผลต่อการทำงานของเส้นประสาท แขนขาเหยียดไม่เต็มที่

จึงมีผู้คิดค้นวิธีการบริหารเส้นประสาทโดยใช้ความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์(Anatomy) บวกกับการเต้นรำฟลามิงโก โดยชาวออสเตเรีย

 

อ.ดร.คีรินท์ เมฆโหรา ได้วิเคาระห์ท่าเต้นและการตรวจความตึงตัวของเส้นประสาทพบว่ามีส่วนคล้ายกับท่ารำของไทยมาก

จึงทำการวิจัยร่วมกับนักษาหลังปริญญาพบว่า การออกกำลังกายด้วยท่ารำของไทยเรานั้น ทำให้ความตึงตัวของเส้นประสาทลดลงอย่างชัดเจน

ท่ารำนั้น ได้แก่

ท่าสอดสร้อยมาลา บริหารเส้นประสาทมีเดียน (Medain nerve)
ท่าสอดสร้อยมาลา บริหารเส้นประสาทมีเดียน (Medain nerve)

 

ท่าล่อแก้ว บริหารเส้นประสาทอัลนา (Ulnar nerve)
ท่าล่อแก้ว บริหารเส้นประสาทอัลนา (Ulnar nerve)
ท่าล่อแก้ว บริหารเส้นประสาทอัลนา (Ulnar nerve) 
ท่าพรหมสี่หน้า บริหารเส้นประสาทอัลนา (Ulnar nerve)
ท่าพรหมสี่หน้า บริหารเส้นประสาทอัลนา (Ulnar nerve)
ท่าชะนีร่ายไม้ บริหารเส้นประสาทมีเดียน (Median nerve)
ท่าชะนีร่ายไม้ บริหารเส้นประสาทมีเดียน (Median nerve)

 

ท่ารำยั่ว บริหารเส้นประสาทมีเรเดียล (Radail nerve)
ท่ารำยั่ว บริหารเส้นประสาทมีเรเดียล (Radail nerve)

ท่ารำยั่ว บริหารเส้นประสาทมีเรเดียล (Radail nerve)

 

รำแค่ไหนถึงจะดี

อาจารย์คีรินท์ ท่านก็ได้ให้คำแนะนำง่ายๆดังนี้

  • ให้ใช้ท่ารำมาตรฐานที่มีอยู่ทั่วไปก็เพียงพอแล้ว
  • รำครั้งละ 5-10 นาที รำบ่อยๆดีกว่ารำนานๆคะ
  • ขณะรำให้ความรู้สึกแค่ตึงๆ ที่แขนก็เพียงพอ ไม่ฝืนจนเกินไป
  • หากรำแล้วมีอาการชาหรือเจ้บเพิ่มมากขึ้น ให้หยุดพักสักครู่ ถ้าอาการหายทันทีหลังจากหยุดรำ

สามารถรำต่อได้ แต่ถ้าต้องพักสักครู่หนึ่ง(1นาที) ให้ลดเวลาลง และลดความรู้สึกที่ตึงขณะรำ

  • รำทุกวันติดต่อกัน 3 สัปดาห์ อาการตึงจะค่อยๆดีขึ้น
  • การรำเหมาะสำหรับที่มีการน้อยถึงปานกลาง หากมีอาการมาก ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด

โดยหากหลังรำรู้สึกอาการแย่ลง คือปวด ชามาก ขึ้น บ่งบอกว่าการรำไทยยังไม่เหมาะสมกับท่าน

 

เอาหละคะคราวนี้ก็ทราบแล้วใช่ไหมคะว่าศิลปะวัฒนธรรมของคนไทยเรานั้น ทรงคุณค่าขนาดไหน

อาจจะจัดเป็นกิจกรรมหนึ่งของพนักงานขณะพัก “อ้าวพักแล้ว รำกัน 10นาที”

หรือใช้เพิ่มเติมในการแอโรบิกด้วยก็จะทำให้ลดและป้องกันปัญหาการบาดเจ็บของเส้นประสาทได้นะคะ

 

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึก